วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์
  คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
   แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลใน          สภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ 
   พระภิกษุ ขุนนางข้าราชการ สุภาพชน  
            
             ที่มาของคำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
    รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
     การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น


คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

 พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง

 พระเขนย หมายถึง หมอน

 พระทวาร หมายถึง ประตู

 พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง

 พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง คนโทน้ำ

 ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน 

 ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม

 ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ 

 แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ

 พระสาง หมายถึง หวี



คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย

 พระอุระหรือพระทรวง หมายถึง อก

 พระหทัยหรือพระกมล หมายถึง หัวใจ

 พระอุทร หมายถึง ท้อง

 พระนาภี หมายถึง สะดือ

 พระกฤษฎีหรือบั้นพระองค์  หมายถึง สะเอว

 พระปรัศว์ หมายถึง สีข้าง

 พระผาสุกะ หมายถึง ซี่โครง

 พระเศียร หมายถึง  ศีรษะ

 พระนลาฏ หมายถึง หน้าผาก

 พระขนงหรือพระภมู หมายถึง คิ้ว

 พระเนตรหรือพระจักษุ หมายถึง ดวงตา

 พระนาสิกหรือพระนาสา หมายถึง จมูก

 พระปราง หมายถึง แก้ม
คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 

คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์
พระบรมราชินี
พระบรมราชนนี
พระบรมโอสรสาธิราช
พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ

การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ

       
การใช้คำว่า “พระ” “พระบรม” “พระราช”
  “พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
  “พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระ      ปรมาภิไธย เป็นต้น
  “พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ    พระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราช          วโรกาส เป็นต้น

        การใช้คำว่า “ทรง” มีหลัก 3 ประการ คือ
     นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
     นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
      นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น

       การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ
ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”

              คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า               “ถวายความจงรักภักดี”

       การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้า

      ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”


ด.ช.ภูริ จองมั่นคง ม2/12 เลขที่22